ระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่
  • แหล่งน้ำดิบที่ใช้ : น้ำผิวดิน เช่น น้ำจากแม่น้ำ, ลำคลอง, อ่างเก็บน้ำที่มีน้ำไหลเข้าทดแทน เป็นต้น
  • ขนาดของพื้นที่ก่อสร้างระบบฯ โดยประมาณ 22 x 28 ตารางเมตร
  • ความสามารถในการผลิตน้ำ = 20 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง
  • ราคาค่าก่อสร้าง = 5,000,000 บาท
  • สามารถให้บริการแก่ประชาชนผู้ใช้น้ำได้ครอบคลุมมากกว่า 300 หลังคาเรือน
  • ส่วนประกอบที่สำคัญ

     โรงสูบน้ำดิบ

     ถังกรองน้ำผิวดิน

    เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง : Centrifugal pump

    หอถังสูง

    1. โรงสูบน้ำดิบ มีหน้าที่สูบน้ำดิบเข้าสู่ระบบ เพื่อการผลิตน้ำประปาต่อไป
    2. ถังกรองน้ำผิวดิน ขนาด 20 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง ซึ่งจะประกอบ ไปด้วย ถังตกตะกอน และถังกรอง โดยเมื่อน้ำดิบ ผ่านเข้าสู่ระบบ ถังกรอง จะมีการเติม สารส้ม เพื่อให้ตะกอน รวมตัว จับเป็นก้อน และตกตะกอน ในถังตกตะกอน ส่วนน้ำที่ได้รับ การปรับปรุงคุณภาพ ตามขั้นตอนแล้ว จะผ่านเข้าสู่ ถังกรองซึ่งเป็น ระบบกรองเร็ว เพื่อกรองตะกอนขนาดเล็ก ที่ไม่ตกในช่วงที่น้ำ ผ่านถังตกตะกอน ทำให้มีความใสสะอาดมากขึ้น
    3. ถังน้ำใส ขนาด 200 ลูกบาศก์เมตร มีหน้าที่ เก็บสำรองน้ำ ที่ผ่านการปรับปรุง คุณภาพแล้ว (น้ำดี)
    4. โรงสูบน้ำดี ติดตั้งเครื่องสูบน้ำดี (เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง : Centrifugal pump) ทำหน้าที่สูบน้ำที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้ว (จากถังน้ำใส) ขึ้นสู่หอถังสูง เพื่อการให้บริการ แจกจ่าย แก่ประชาชนผู้ใช้น้ำต่อไป และในระหว่างนี้ จะทำการเติมสารละลายคลอรีน เพื่อการฆ่าเชื้อโรค ที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำเพื่อให้เป็น "น้ำประปา" ที่สะอาด ปลอดภัย เหมาะสมแก่ การอุปโภค-บริโภคต่อไป
    5. หอถังสูง คอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 45 ลูกบาศก์เมตร ทำหน้าที่ เพิ่มแรงดันน้ำ ให้สามารถไหล ไปตามเส้นท่อ สู่ประชาชนผู้ใช้น้ำ