ธนาคารน้ำ กิจกรรมการจัดหาน้ำสะอาด
เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดความจุ 99,000 ลิตร เป็นภาชนะเก็บน้ำขนาดใหญ่ประจำหมู่บ้าน สร้างไว้เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยสามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูฝนและฤดูแล้ง และหากหมดฝนแล้วก็สามารถนำน้ำสะอาดจากแหล่งอื่น เช่น น้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค การประปาเทศบาล น้ำประปาจากประปาหมู่บ้านอื่น น้ำจากบ่อน้ำตื้น หรือจากบ่อบาดาล มาใส่ไว้ ก็สามารถแจกจ่ายหรือจำหน่ายน้ำให้ประชาชนได้ตลอดทั้งปี

แหล่งน้ำที่จะนำมาเก็บไว้ในธนาคารน้ำ สามารถนำมาจากหลายแหล่ง ดังนี้

  1. น้ำฝน เป็นน้ำที่สะอาด การเก็บน้ำฝนไว้ในถังต้องล้างถังก่อน โดยล้างในช่วงต้นฤดูฝน และก่อนที่จะเก็นน้ำฝนต้องปล่อยให้ฝนตกชำระล้างสิ่งสกปรกบนหลังคาให้สะอาดก่อน โดยให้เปิดท่อระบายน้ำทิ้งระยะแรก หรือบายพาส (BY PASS) ให้น้ำสกปรกจากหลังคาไหลทิ้งไปก่อน และเมื่อฝนตกลงมาจนเห็นว่าสะอาด ไม่มีเศษสิ่งสกปรก จึงปิดวาล์วท่อระบายน้ำทิ้ง เพื่อให้น้ำฝนที่สะอาดแล้วไหลลงสู่ถัง หากฝนตกทิ้งช่วงหลายวันก่อนปล่อยให้น้ำฝนไหลลงถังทุกครั้งต้องทำการเปิดวาล์วท่อระบายน้ำทิ้งระยะแรกเพื่อล้างหลังคาก่อนเสมอ
  2. น้ำผิวดิน เช่น น้ำจากห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ ก่อนนำมาเก็บในถังต้องทำการปรับปรุงให้สะอาดก่อน เช่น การตกตะกอน การกรอง และฆ่าเชื้อโรคก่อน จึงจะนำมาเก็บไว้ใช้ได้
  3. น้ำใต้ดิน เช่น น้ำจากบ่อน้ำตื้นและบ่อน้ำบาดาล ก็ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพให้สะอาดก่อนเช่นเดียวกัน
  4. น้ำจากประปา เราสามารถขอน้ำประปาหรือซื้อน้ำประปาจากประปาหมู่บ้านอื่น หรือจากการประปาส่วนภูมิภาค การประปาเทศบาล และสุขาภิบาล มาเก็บไว้ในถังเพื่อใช้ในฤดูแล้ง

ควรเฝ้าระวังดูแลให้น้ำสะอาดอยู่เสมอ น้ำ จากธนาคารน้ำ ของเรา จะสะอาด และใช้ดื่มได้ จะต้องไม่มีเชื้อโรค หรือสิ่งเจือปน ต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจว่า น้ำนั้นสะอาดดีหรือยัง ต้องมีการตรวจสอบดู ูโดยติดต่อกับ เจ้าหน้าที่ ที่สถานีอนามัย ในหมู่บ้าน ให้เขามาเก็บตัวอย่างน้ำ ไปส่งตรวจ เป็นประจำ โดยเฉพาะในหน้าแล้ง ที่มักจะมีโรคท้องร่วงระบาด หากตรวจสอบแล้ว พบว่าน้ำในถังที่เก็บไว้ ไม่สะอาด ก็ต้องมี การเติมคลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อน

การบริหารจัดการธนาคารน้ำ ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดความจุ 99,000 ลิตร นี้ เป็นของสาธารณะ ที่ประชาชนทุกคน ในหมู่บ้าน ของท่าน สามารถจะใช้น้ำได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแล และกรรมการจำนวนหนึ่ง มาช่วยกัน บริหารจัดการ ในรูปแบบของธนาคารน้ำ โดยช่วยกันหาน้ำมาเติมให้เต็มและกำหนดวิธีการขาย หรือจัดสรรปันส่วน น้ำให้มีเพียงพอ ใช้ตลอดปี การบริหารจัดการ ของกรรมการนั้น หากชุมชน มีความสามารถ ก็ให้จัดตั้งเป็นกองทุน โดยระดมเงิน จากค่าสมาชิก รวมกับเงินรายได้ จากการจำหน่ายน้ำ ก็จะสามารถพึ่งตนเองได้ โดยที่มีเงิน สำหรับซื้อน้ำ และซ่อมแซมถัง แต่หากไม่สามารถ จัดตั้งกองทุน อาจจะเป็นเพราะ มีสมาชิกผู้ใช้น้ำ มีรายได้น้อย หรือธนาคารน้ำ ตั้งอยู่ที่วัด สถานีอนามัย หรือโรงเรียน ก็ควรจะมี ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล และกรรมการ รับผิดชอบ ในการจัดหาน้ำ มาเติมให้เต็ม รวมทั้งดูแล ในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ให้สะอาด และการซ่อมแซม เมื่อเกิดการชำรุด เสียหาย เช่นเดียวกัน

"ธนาคารน้ำ" นี้ สร้างขึ้น โดยงบประมาณ ของทางราชการ ซึ่งมาจาก ภาษีอากร ของประชาชน สร้างเพื่อประชาชน ในท้องถิ่น ที่ขาดแคลน แหล่งน้ำกินน้ำใช้ ดังนั้น อย่าปล่อยทิ้งไว ้ให้เป็นถังร้าง น่าเสียดาย

ข่าวโดย งานประชาสัมพันธ์ (กนิษฐา ไทยอุดม) กลุ่มงานอบรมและเผยแพร่ มีนาคม 2541