หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการก่อสร้างถังเก็บน้ำ แบบ ฝ.99 (ธนาคารน้ำ)
โครงการปกติ
  1. เป็นหมู่บ้านที่อยู่นอกเขตสุขาภิบาล หรือนอกเขตเทศบาล
  2. เป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำ ไม่มีระบบประปาหมู่บ้านและไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอที่จะก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน
  3. เป็นหมู่บ้านที่มีบ่อบาดาล บ่อน้ำตื้น หรือแหล่งน้ำประเภทอื่น แต่ไม่สามารถนำมาเป็น แหล่งน้ำของระบบประปาหมู่บ้านได้ และประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับบริการน้ำสะอาดไม่ทั่วถึง
  4. คณะกรรมการหมู่บ้านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาที่ดินสำหรับก่อสร้างถังเก็บน้ำแบบ ฝ.99 (ธนาคารน้ำ) ขนาดไม่น้อยกว่า 11 x 11 ตารางเมตร (ขึ้นอยู่กับรูปแบบของถังเก็บน้ำ) ซึ่งจะเป็นที่ดินราชพัสดุ ที่ดินสาธารณประโยชน์หรือที่ดินที่ได้รับบริจาคก็ได้ และ กม.จะต้องดำเนินการ ในเรื่องการขอใช้ที่ดินและขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุให้ถูกต้องตามระเบียบ
  5. เมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรมอนามัยจะส่งมอบให้คณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อส่งมอบให้กับคณะกรรมการการบริหารกิจการธนาคารน้ำ เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการธนาคารน้ำ
  6. คณะกรรมการบริหารกิจการธนาคารน้ำ และผู้ดูแลธนาคารน้ำมาจากการคัดเลือกของประชาชนผู้ใช้น้ำ และจะต้องเข้ารับการอบรมจากกรมอนามัย เพื่อให้ทำหน้าที่บริหารจัดการ ดูแลและบำรุงรักษาธนาคารน้ำตามแนวทางของกรมอนามัย
  7. คณะกรรมการหมู่บ้านจะต้องสนับสนุนการดำเนินงานของคณะผู้บริหาร/และผู้ดูแลธนาคารน้ำ
  8. ประชาชนผู้ใช้น้ำจะต้องมารับน้ำที่ธนาคารน้ำเอง โดยใช้ภาชนะรองรับของส่วนตัว


หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการก่อสร้างถังเก็บน้ำ แบบ ฝ.99 (ธนาคารน้ำ)
โครงการถ่ายโอนกิจกรรมการพัฒนาแหล่งน้ำในชนบทให้ท้องถิ่น (อบต.)
  1. เป็นหมู่บ้านที่อยู่นอกเขตสุขาภิบาล หรือนอกเขตเทศบาล
  2. เป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำ ไม่มีระบบประปาหมู่บ้านและไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอที่จะก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน
  3. เป็นหมู่บ้านที่มีบ่อบาดาล บ่อน้ำตื้น หรือแหล่งน้ำประเภทอื่น แต่ไม่สามารถนำมาเป็น แหล่งน้ำของระบบประปาหมู่บ้านได้ และประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับบริการน้ำสะอาดไม่ทั่วถึง
  4. คณะกรรมการหมู่บ้านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาที่ดินสำหรับก่อสร้างถังเก็บน้ำแบบ ฝ.99 (ธนาคารน้ำ) ขนาดไม่น้อยกว่า 11 x 11 ตารางเมตร (ขึ้นอยู่กับรูปแบบของถังเก็บน้ำ) ซึ่งจะเป็นที่ดินราชพัสดุ ที่ดินสาธารณประโยชน์หรือที่ดินที่ได้รับบริจาคก็ได้ และ กม.จะต้องดำเนินการ ในเรื่องการขอใช้ที่ดินและขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุให้ถูกต้องตามระเบียบ
  5. เมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรมอนามัยจะส่งมอบให้คณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อส่งมอบให้กับคณะกรรมการการบริหารกิจการธนาคารน้ำ เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการธนาคารน้ำ
  6. คณะกรรมการบริหารกิจการธนาคารน้ำ และผู้ดูแลธนาคารน้ำมาจากการคัดเลือกของประชาชน ผู้ใช้น้ำ และจะต้องเข้ารับการอบรมจากกรมอนามัย เพื่อให้ทำหน้าที่บริหารจัดการ ดูแลและบำรุงรักษาธนาคารน้ำตามแนวทางของกรมอนามัย
  7. คณะกรรมการหมู่บ้านจะต้องสนับสนุนการดำเนินงานของคณะผู้บริหาร/และผู้ดูแลธนาคารน้ำ
  8. ประชาชนผู้ใช้น้ำจะต้องมารับน้ำที่ธนาคารน้ำเอง โดยใช้ภาชนะรองรับของส่วนตัว


หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านแบบบาดาลขนาดกลาง
โครงการถ่ายโอนกิจกรรมการพัฒนาแหล่งน้ำในชนบทให้ท้องถิ่น (อบต.)
  1. เป็นหมู่บ้านที่อยู่นอกเขตสุขาภิบาล หรือนอกเขตเทศบาล
  2. มีประชากรในหมู่บ้าน จำนวน 50-120 ครัวเรือน และมีผู้ใช้น้ำไม่น้อยกว่า 50 หลังคาเรือน
  3. มีบ่อน้ำบาดาลที่มีปริมาณน้ำพอเพียงในการผลิตน้ำประปา โดยจะต้องมีปริมาณน้ำไม่น้อยกว่า 20 แกลลอนต่อนาที (5 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง)
  4. มีระบบไฟฟ้าในหมู่บ้าน
  5. อบต. จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาที่ดินสำหรับเป็นที่ตั้งของระบบผลิตน้ำประปา ขนาด 15 x 15 ตารางเมตร ซึ่งจะเป็นที่ดินราชพัสดุ ที่ดินสาธารณประโยชน์ หรือ ที่ดินที่ได้รับบริจาคก็ได้ และอบต. จะต้องดำเนินการในเรื่องการขอใช้ที่ดินและขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุให้ถูกต้องตามระเบียบ
  6. เมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรมอนามัยจะยกมอบทรัพย์สิน และการบริหารจัดการระบบประปาหมู่บ้านให้ อบต. เป็นผู้รับผิดชอบ
  7. อบต. จะต้องคัดเลือกผู้บริหารและผู้ดูแลระบบประปาหมู่บ้านไปเข้ารับการอบรมจากกรมอนามัย เพื่อให้ทำหน้าที่บริหารจัดการ ดูแลและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านตามแนวทางของกรมอนามัย
  8. อบต. จะต้องสนับสนุนงบประมาณในการบริหารกิจการประปาหมู่บ้านตลอดไป
  9. อบต. จะต้องดำเนินการผลิตน้ำประปาที่มีคุณภาพดีตามคำแนะนำของกรมอนามัย
  10. อบต. จะต้องให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชน โดยการขายน้ำประปาผ่านมาตรวัดน้ำ
  11. ประชาชนผู้ใช้น้ำจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการต่อท่อเข้าบ้าน มาตรวัดน้ำ และอุปกรณ์อื่น ๆ เอง