เรื่อง การสำรวจสำมะโนประปาชนบท
ทั่วประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

ภัยแล้ง เป็นปรากฏการณ์ ที่เกิดจากการกระทำ ของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมนุษย์ ได้มีการทำลายป่าไม้ เป็นผลทำให้ฝนไม่ตกต้อง ตามฤดูกาล หรือถ้าฝนตกพื้นดิน ก็ไม่สามารถทำการ อุ้มน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง ได้จึงทำให้เกิดภาวะ การขาดแคลนน้ำในระดับหนึ่ง จนกระทั่งถึงในระดับที่รุนแรง ปัจจุบันภาวะภัยแล้ง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดอยู่ ในขั้นที่รุนแรงมาก ประกอบกับในขณะนี้ ที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาจาก เอล นิ โญ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ แต่ก็มีผลทำให้โลก เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งผลให้ภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก เกิดความแห้งแล้งยิ่งขึ้น ประเทศไทยของเรา ก็เป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว แม้ว่าจะส่งผลกระทบ ทำให้เกิดความรุนแรงไม่มากนัก แต่เราก็ต้องเตรียมรับมือ กับสภาวะภัยแล้งดังกล่าวไว้

วิธีการเตรียมรับมือ กับภาวะภัยแล้ง ในด้านการจัดหาน้ำสะอาด
กรมอนามัย โดยกองประปาชนบท ได้เล็งเห็นถึงสภาพปัญหา เนื่องจากภาวะภัยแล้ง ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู และวิถีชีวิตของประชาชน จึงได้จัดเตรียมแผน เพื่อรับมือกับภาวะดังกล่าว ไว้ดังนี้

1. การสำรวจสำมะโนประปาชนบท กรมอนามัย จะดำเนินการ สำรวจสำมะโนประปาชนบท ทั่วประเทศไทย เพื่อเป็นการรวบรวม และศึกษาสภาพความเป็นจริง ของระบบประปาหมู่บ้าน ในชนบท ที่ก่อสร้าง โดยหน่วยงานต่าง ๆ ทุกหน่วยงาน และจะได้นำเอาข้อมูล ดังกล่าว ไปใช้ใน การแก้ปัญหาภัยแล้ง ให้แก่ชุมชน ต่อไป ซึ่งในการนี้ กรมอนามัย จะดำเนินการ สำรวจสำมะโนประปาชนบท ของทุกหน่วยงาน ทั่วประเทศไทย ระหว่าง เดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2541 โดยจะส่งแบบสอบถาม แผ่นพับ 5 ตอน เพื่อสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับ การมีและการใช้ ตลอดจนสภาพ การใช้งาน ของระบบประปาหมู่บ้าน ให้กับ ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต ทุกเขต และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทุกจังหวัด เป็นผู้เก็บข้อมูล จากผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการบริหาร ระบบประปา และ ผู้ดูแลระบบประปาหมู่บ้าน อนึ่ง กรมอนามัย ต้องขอความร่วมมือ จากเจ้าหน้าที่ ของศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต ทุกเขต และเจ้าหน้าที่ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทุกจังหวัด เป็นผู้เก็บข้อมูล ดังกล่าว รวมทั้ง ขอความร่วมมือ จากผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการระบบประปา และผู้ดูแลระบบประปา เป็นผู้ให้ข้อมูล ตอบแบบสอบถาม และกรุณาส่งแบบสอบถาม ดังกล่าว กลับคืน ที่กองประปาชนบท กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ต่อไป

2. การสนับสนุนธนาคารน้ำ ประจำหมู่บ้าน เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในระหว่าง ปี พ.ศ.2535-2540 กรมอนามัย ได้จัดสร้าง ธนาคารน้ำ ให้แก่หมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,469 แห่ง โดยทำการก่อสร้าง เป็นลักษณะของถังเก็บน้ำ คอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดความจุ 99,000 ลิตร และ ให้ประชาชนในหมู่บ้าน คัดเลือกคณะกรรมการ ขึ้นมาทำการบริหารจัดการ ในรูปของธนาคารน้ำ โดยทำหน้าที่ วางระเบียบการใช้น้ำ จัดสรรปันส่วนน้ำ และดูแลบำรุงรักษา สิ่งก่อสร้าง ให้สามารถบริการ น้ำสะอาดแก่ประชาชน ในหมู่บ้านได้เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาวะที่เกิดปัญหาภัยแล้ง เป็นประจำทุกปี และเนื่องจาก วัตถุประสงค์ของ การจัดสร้างธนาคารน้ำ เพื่อเป็นการแก้ไข ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ของหมู่บ้าน ที่ไม่มีแหล่งน้ำอื่น ๆ ซึ่งมักจะเป็น หมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง เป็นประจำทุกปี ดังนั้น ธนาคารน้ำ จึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องมือ ในการต่อสู้กับภัยแล้ง กรมอนามัย จึงได้กำหนด วิธีการที่จะสนับสนุน กิจการธนาคารน้ำ เพื่อต่อสู้กับภัยแล้ง ดังนี้

  1. กรมอนามัย จะส่งข้อมูลสถานที่ก่อสร้าง ระบบประปาหมู่บ้าน ของกรมอนามัย จำนวน 6,881 แห่ง ทั่วประเทศ ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด ได้ใช้เป็นข้อมูล ในการวางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยสามารถจะขนน้ำ หรือซื้อน้ำ จากระบบประปาหมู่บ้าน ของกรมอนามัย ไปใส่ในถังเก็บน้ำ ของธนาคารน้ำ ให้เต็มได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้ประหยัด งบประมาณค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ของรถขนน้ำ และประหยัดเวลา สามารถขนน้ำ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจาก จังหวัดต่าง ๆ สามารถขนน้ำ จากระบบประปา ที่อยู่ใกล้กับธนาคารน้ำ นั้น ๆ แทนที่จะต้องไป ขนน้ำจากน้ำประปา ในตัวอำเภอ หรือจังหวัด ซึ่งอยู่ไกลออกไป
  2. กรมอนามัย จะส่งข้อมูลสถานที่ตั้ง ของธนาคารน้ำทั้ง 2,469 แห่ง ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง พร้อมทั้งแนะนำ วิธีการเตรียมความพร้อม ของธนาคารน้ำ เพื่อใช้ต่อสู้กับ ปัญหาภัยแล้ง ดังนี้
    • ให้ผู้รับผิดชอบ สำรวจ สภาพการใช้งาน ของธนาคารน้ำ หากมีปัญหา การรั่วซึม หรือชำรุดเสียหาย ให้ดำเนินการ ซ่อมแซม ปรับปรุง ให้สามารถ เก็บกักน้ำ ได้ตามปกติ
    • จัดหาน้ำสะอาด จากระบบประปา ของกรมอนามัย หรือจากแหล่งน้ำสะอาด อื่น ๆ มาใส่ในถังเก็บน้ำ ของธนาคารน้ำ ให้เต็ม พร้อมที่จะแจกจ่าย ให้ประชาชน ในหมู่บ้าน เมื่อเกิดภาวะขาดแคลนน้ำ

ข่าวโดย งานประชาสัมพันธ์ (กนิษฐา ไทยอุดม) กลุ่มงานอบรมและเผยแพร่ มีนาคม 2541