ระบบประปาบาดาล ขนาดใหญ่
  • แหล่งน้ำดิบที่ใช้ : บ่อน้ำบาดาล ที่สามารถให้น้ำ ได้มากกว่า 10 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง ขึ้นไป
  • ขนาดของพื้นที่ ก่อสร้างระบบฯ โดยประมาณ 20 x 20 ตารางเมตร
  • ความสามารถ ในการผลิตน้ำ = 10 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง
  • ราคาค่าก่อสร้าง = 1,900,000 บาท
  • สามารถ ให้บริการ แก่ประชาชนผู้ใช้น้ำ ได้ครอบคลุม 120 - 300 หลังคาเรือน
  • รูปแบบ
    1. ระบบประปาบาดาลขนาดใหญ่ แบบสูบจ่ายตรง ไม่มีถังน้ำใส (แบบ ก.)
    2. ระบบประปาบาดาลขนาดใหญ่ แบบมีถังน้ำใส (แบบ ข.)
    3. ระบบประปาบาดาลขนาดใหญ่ แบบมีถังกรอง และถังน้ำใส (แบบ ค.)
    ส่วนประกอบที่สำคัญ

    1. เครื่องสูบน้ำแบบซับเมิ้สซิเบิ้ล (Submersible pump) ทำหน้าที่สูบน้ำ (น้ำดิบ) ขึ้นจากบ่อน้ำบาดาล เพื่อเข้าสู่ระบบการผลิตน้ำประปาต่อไป
    2. ถังกรองน้ำบาดาล ขนาด 10 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง พร้อมแอร์เรเตอร์ (Aerator) ทำหน้าที่ กรองสนิมเหล็ก ในกรณีที่น้ำบาดาล มีการปนเปื้อน จากสนิมเหล็ก โดยการให้น้ำบาดาล สัมผัสอากาศ เพื่อให้สนิมเหล็ก ซึ่งอยู่ในรูป ที่ละลายน้ำได้ เปลี่ยนเป็นรูปที่ไม่ละลายน้ำ เกิดเป็นตะกอนสนิมเหล็ก
    3. ถังน้ำใส ขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร มีหน้าที่เก็บสำรองน้ำที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้ว (น้ำดี)
    4. โรงสูบน้ำดี ภายในจะติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง (Centrifugal pump ) ทำหน้าที่สูบน้ำที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้ว (จากถังน้ำใส) ขึ้นสู่หอถังสูง เพื่อการให้บริการแจกจ่ายแก่ประชาชนผู้ใช้น้ำต่อไป และ ในระหว่างนี้ จะทำการเติม สารละลายคลอรีน เพื่อการฆ่าเชื้อโรค ที่อาจปนเปื้อน มากับน้ำ เพื่อให้เป็น "น้ำประปา" ที่สะอาด ปลอดภัย เหมาะสมแก่ การอุปโภค-บริโภคต่อไป
    5. หอถังสูง คอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 30 ลูกบาศก์เมตร ทำหน้าที่เพิ่มแรงดันน้ำ ให้สามารถไหลไปตามเส้นท่อ สู่ประชาชนผู้ใช้น้ำต่อไป

    เครื่องสูบน้ำแบบซับเมิ้สซิเบิ้ล (Submersible pump)

    ถังกรองน้ำบาดาล ขนาด 10 ลบ.เมตร/ชม.

    ถังน้ำใส ขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร

    เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง (Centrifugal pump )

    หอถังสูง คอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 30 ลูกบาศก์เมตร